โรงพยาบาลสัตว์สาคร

โรงพยาบาลสัตว์สาคร โรงพยาบาลสัตว์สาคร ให้บริการตรวจรักษาสุนัข และแมว ฉีดวัคซีน ทำหมัน ผ่าคลอด

โรงพยาบาลสัตว์สาคร หยุดให้บริการช่วง ปีใหม่ วันที่ 30 ธันวาคม 2567 -1 มกราคม 2568เปิดให้บริการวันที่ 2 มกราคม 2568 ขออภั...
18/12/2024

โรงพยาบาลสัตว์สาคร หยุดให้บริการช่วง ปีใหม่
วันที่ 30 ธันวาคม 2567 -1 มกราคม 2568
เปิดให้บริการวันที่ 2 มกราคม 2568
ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เป็นวันที่จะมีการจัดขบวนแห่เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครผ่านหน้าโรงพยาบาลสัตว์สาคร ทำให้มีการปิ...
12/06/2024

วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567
เป็นวันที่จะมีการจัดขบวนแห่เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร
ผ่านหน้าโรงพยาบาลสัตว์สาคร ทำให้มีการปิดถนน
ตั้งแต่เวลา 12.30 น. - 17.30 น.
ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

แจ้งวันปิดให้บริการช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 13 - 15 เมษายน 2567พร้อมให้บริการวันที่ 16 เมษายน 2567ขออภัยในความไม่สะดวกม...
07/04/2024

แจ้งวันปิดให้บริการช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 13 - 15 เมษายน 2567
พร้อมให้บริการวันที่ 16 เมษายน 2567
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ค่ะ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 034-422388 , 087-9194540

เนื่องจากการไฟฟ้าจะทำการดับไฟบริเวณซอยดับเพลิงในวันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567 ช่วงเวลา 9.00 - 12.00 น.ทางโรงพยาบาลสัตว์สาคร ...
03/04/2024

เนื่องจากการไฟฟ้าจะทำการดับไฟบริเวณซอยดับเพลิง
ในวันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567
ช่วงเวลา 9.00 - 12.00 น.
ทางโรงพยาบาลสัตว์สาคร ขอปรับเวลาการเปิดบริการ
เป็นช่วงเวลา 12.00 น. ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

🐱คำแนะนำเบื้องต้นในการดูแลลูกแมวและการเตรียมอุปกรณ์เบื้องต้นสำหรับการเลี้ยง มีดังนี้🐱1. เตรียมที่พักที่ปลอดภัยและสะอาด :...
06/02/2024

🐱คำแนะนำเบื้องต้นในการดูแลลูกแมวและการเตรียมอุปกรณ์เบื้องต้นสำหรับการเลี้ยง มีดังนี้🐱
1. เตรียมที่พักที่ปลอดภัยและสะอาด : ในขณะที่นำแมวลูกเข้าสู่บ้าน ควรเตรียมที่พักที่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเคลื่อนไหว วิ่งเล่น มีกระบะทรายที่สะอาด และใหญ่เพียงพอที่สามารถทำให้แมวลูกรู้สึกปลอดภัย

2. เลือกอาหารที่เหมาะสมสำหรับแมวลูก : การเลือกอาหารที่เหมาะสมสำหรับแมวลูกเป็นสิ่งสำคัญ. ควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนสูงและสารอาหารที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อคำแนะนำเพิ่มเติม

3. การดูแลสุขภาพทั่วไป: ควรตรวจสุขภาพแมวลูกอย่างสม่ำเสมอ สังเกตพฤติกรรมการแสดงออก เช่น การเล่น การกิน และการขับถ่าย เมื่อมีอาการที่ผิดปกติ เช่น ถ่ายเหลว มีน้ำมูก แนะนำควรพาไปพบสัตวแพทย์

4. การทำความสะอาดและดูแลของแมว : การทำความสะอาดแมวลูกเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันโรคและรักษาความสะอาดโดย ใช้ผ้าเปียกเช็ดตามตัว หรืออาบน้ำลูกแมวด้วยน้ำอุ่น และระวังไม่ให้ส่วนท้องเย็นเกินไป

5. การพาไปพบสัตวแพทย์ประจำปี : โดยทั่วไป ในขวบปีแรกของลูกแมว ควรได้รับวัคซีนหลักอย่างน้อย 2 โรค ได้แก่โรคหัดแมว และโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากทั้ง 2 โรค เป็นโรคที่อาการรุนแรงและมีอัตราการตายสูง รวมทั้งการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองโรคที่ติดมาตามสายเลือด เช่น ลิวคีเมีย และ เอดส์แมว
การดูแลแมวลูกอย่างถูกต้องและการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเลี้ยงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้แมวลูกของคุณมีชีวิตที่ดีและสุขภาพแข็งแรงในอนาคต❤

🩺ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองในสุนัข IMHA เป็นคำย่อมาจาก  Immune-mediated hemolytic anemia ชื่ออาจจะฟังดูแล้วปวดหัวแต่ อาก...
23/01/2024

🩺ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองในสุนัข IMHA เป็นคำย่อมาจาก Immune-mediated hemolytic anemia ชื่ออาจจะฟังดูแล้วปวดหัวแต่ อาการที่พบและวิธีรักษา ปวดหัวยิ่งกว่าอีก มาค่ะวันนี้จะเล่าให้ฟัง

โดยปกติร่างกายของสุนัข จะมีระบบ เรียกว่า Antibody ทำหน้าที่คอยป้องกันร่างกายและต่อสู้กับเชื้อ แบคทีเรีย หรือ ไวรัสต่างๆ ที่เข้าสู้ร่างกาย โดยปกติตัว Antibody จะไม่ตีกับเม็ดเลือดเเดงของตัวเอง เพราะรู้จักกันดีอยู่แล้ว ยกเว้นในภาวะที่ไม่ปกติ เช่น ความเครียด สายพันธุ์สุนัข การติดเชื้อโรคต่าง การอักเสบเรื้อรัง การได้รับยาบางชนิด การได้รับวัคซีนบางชนิด หรือจากการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง

เมื่อร่างกายเกิดภาวะ IMHA จะมีอาการหลักที่พบ คือ มีจุดเลือดออกตาม เยื่อบุต่างๆ อึมีเลือดปน (melena) อาเจียนหรือฉี่ปนเลือด เลือดออกทางจมูกหรือในตา มีไข้ เบื่อ อาหารเหนื่อยง่าย เยื่อเมือกซีดต่อมน้ำเหลืองโต ม้ามโต หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว

วิธีการตรวจ จะใช้การตรวจทางห้องปฎิบัติการ จะพบว่า น้องมีภาวะเลือดจาง เม็ดเลือดแดงต่ำ ส่องกล้องดูเม็ดเลือดแดง จะพบ spherocytosis (มีเม็ดเลือดแดง ขนาดเล็ก) เมื่อหยดเลือดบนสไลด์ เลือดจะมีการตกตะกอน (autoagglutination) หรือการตรวจแบบไม้ตาย ที่เรียกว่า Coombs test เป็นการตรวจหาแอนติบอดี หรือ คอมพลีเมนท์ บนผิวของเซลล์เม็ดเลือดแดงหรือ เกล็ดเลือด อาศัยหลักการการจับกลุ่ม (agglutination) เพื่อฟันธงอาการแบบแน่นอน

ประเด็นจะอยู่ที่ความยากในการรักษามากกว่า เพราะจะต้องหา สาเหตุของโรคที่ทำให้เกิดอาการของ IMHA เช่น ถ้าน้องเป็นพยาธิเม็ดเลือด ต้องให้ยาเพื่อรักษาพยาธิเม็ดเลือด ร่วมไปกับการให้ยากดภูมิ ได้แก่ ยากลุ่มสเตียรอยด์ แถมบางตัวก็ไม่ตอบสนองกับยา ก็ต้องเปลี่ยนยาที่แรงขึ้น หรือไม่ก็ต้องปรับไปยากดภูมิกลุ่มอื่น แถมยากดภูมิก็มีผลกับตับค่อนข้างเยอะ ให้ยาก็แล้ว ถ้าเลือดยังจางลงอีก ก็ต้องถ่ายเลือด น้องบางตัวทำทุกทางแล้ว ไม่ตอบสนองกับยาก็ทำให้อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

โดยทั่วไปน้องที่ป่วยด้วยอาการ IMHA จะมีโอกาสรอด 50% แต่ถ้าผ่าน 2 สัปดาห์แรกไปได้ โอกาสรอดจะสูงขึ้น แต่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3-6 เดือน และต้องตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังกลับมามีอาการของโรคซ้ำอีกค่ะ ❤️
#โรงพยาบาลสัตว์สาคร

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พศ 2566 ทางโรงพยาบาลสัตว์สาคร ขอปิดให้บริการเวลา 20.00 น. ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ
13/12/2023

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม พศ 2566
ทางโรงพยาบาลสัตว์สาคร ขอปิดให้บริการเวลา 20.00 น. ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

โรงพยาบาลสัตว์สาคร หยุดบริการช่วง ปีใหม่ วันที่ 30 ธันวาคม 2566 -1 มกราคม 2567เปิดให้บริการวันที่ 2 มกราคม 2567 ขออภัยใน...
12/12/2023

โรงพยาบาลสัตว์สาคร หยุดบริการช่วง ปีใหม่
วันที่ 30 ธันวาคม 2566 -1 มกราคม 2567
เปิดให้บริการวันที่ 2 มกราคม 2567
ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

เพื่อเป็นการขอบคุณและสวัสดีปีใหม่ ลูกค้าที่น่ารักที่คอยสนับสนุนโรงพยาบาลสัตว์สาครตลอดมา ทางเราได้เตรียมของขวัญปีใหม่ไว้ใ...
06/12/2023

เพื่อเป็นการขอบคุณและสวัสดีปีใหม่ ลูกค้าที่น่ารักที่คอยสนับสนุนโรงพยาบาลสัตว์สาครตลอดมา ทางเราได้เตรียมของขวัญปีใหม่ไว้ให้ทุกท่าน ที่มารับบริการ สามารถติดต่อรับได้ที่เวชระเบียนของทางโรงพยาบาลได้เลยค่ะ

🐶โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในสุนัข🐶      เป็นโรคที่พบบ่อยและติดต่อง่าย ทำให้สุนัขมีอาการไอ หรือเกิดหลอดลมอักเสบ เรียกอี...
02/12/2023

🐶โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในสุนัข🐶

เป็นโรคที่พบบ่อยและติดต่อง่าย ทำให้สุนัขมีอาการไอ หรือเกิดหลอดลมอักเสบ เรียกอีกชื่อว่า โรค Kennel Cough สาเหตุเกิดจากการเลี้ยงสุนัขหลายๆ ตัวในคอกรวมกันอย่างหนาแน่น แต่ในปัจจุบัน การเลี้ยงสุนัขเริ่มเปลี่ยนไป ความแออัดเริ่มลดลง ทำให้พบในสุนัขที่ ออกไปเดินเล่นนอกบ้าน พบเจอกับสุนัขตัวอื่น เข้าโรงเรียนฝึกสุนัข เข้าร้านอาบน้ำ-ตัดขน หรือไปในที่ที่มีลูกสุนัขจำนวนมาก เช่น สวนสาธารณะ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Canine Infectious Respiratory Disease Complex หรือเรียกย่อ ๆ ว่า CIRDC

🗣อาการ
อาการหลักคือ การไอ เหมือนมีอะไรติดในลำคอ รวมถึงอาการไอเล้วมีเสียงคล้าย ห่านร้อง เรียกว่า goose hock cough ส่วนอาการอื่นที่สามารถพบได้ ได้แก่ มีไข้ จาม น้ำมูกไหล มีขี้ตา เบื่ออาหารและเหนื่อยง่าย
ระยะเวลาในการแสดงอาการมีความหลากหลายตั้งแต่ไม่กี่วันถึง 2-3 สัปดาห์ ขณะที่ในลูกสุนัข สุนัขเครียด อ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันตกต่ำอาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบได้

❗️สาเหตุ
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน โดยชนิดของเชื้อที่พบบ่อยได้แก่
🔹เชื้อไวรัส Canine parainfluenza virus
🔹เชื้อไวรัส Canine adenovirus-2 (CAV-2)
🔹เชื้อแบคทีเรีย Bordetella bronchiseptica
ทั้งนี้ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในสุนัขทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ความเครียด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อากาศชื้น และอุณหภูมิเย็น

🔸การติดต่อ
เกิดได้ทั้งจากการสัมผัสกับสุนัขที่ป่วยเป็นโรคโดยตรง และการสัมผัสกับละอองสารคัดหลั่งในอากาศ การต้องอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น เช่น ระหว่างเดินทาง ฝากเลี้ยง เล่นกันในสวนสาธารณะ และการเข้าร้านอาบน้ำ-ตัดขน

💊การรักษา
สัตวแพทย์มักรักษาตามอาการของโรคและความรุนแรงเป็นหลัก โดยเริ่มต้นจากการให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดอาการไอ ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ และการให้ออกซิเจน ในรายที่มีอาการรุนแรง โดยทั่วไปใช้เวลาในการรักษา 2-3 สัปดาห์

🟡การป้องกัน
สำหรับเจ้าของที่เลี้ยงสุนัขรวมกันหลาย ๆ ตัว ควรพาสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรค ดูแลกรงหรือที่อยู่ของน้องหมาให้สะอาด หมั่นล้างทำความสะอาดที่อยู่ และควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หากมีสุนัขตัวไหนป่วยเป็นโรคนี้ควรแยกตัวที่ป่วยออกจากกลุ่มก่อนทันที

🐶โรคขี้เรื้อนเปียก หรือไรขี้เรื้อนเปียก (Demodex canis) 🐶     เกิดจากไรขี้เรื้อนที่อาศัยในรูขุมขน อาศัยอยู่ด้วยการกินซีบ...
14/11/2023

🐶โรคขี้เรื้อนเปียก หรือไรขี้เรื้อนเปียก (Demodex canis) 🐶
เกิดจากไรขี้เรื้อนที่อาศัยในรูขุมขน อาศัยอยู่ด้วยการกินซีบัม และเซลล์เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ของรูขุมขนเป็นอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มแมลงที่เป็นปรสิตภายนอก (Ectoparasite) มีขนาดเล็ก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาว คล้ายตัวหนอน ตัวเต็มวัยจะมีขา 8 ขา ไรตัวนี้มักจะอาศัยอยู่ในรูขุมขน บริเวณใบหน้า หัว รอบตา ลำตัว ขา ฝ่าเท้า และอุ้งเท้า
โดยตามธรรมชาติแล้ว พบได้ทั่วไปในสุนัขทุกตัว และมักไม่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังถ้าตัวไรขี้เรื้อนมีจำนวนน้อย และสุนัขมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงปกติ
บางรายอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์แทรกซ้อน ทำให้เกิดอาการคันและเกา อาจพบอาการอื่นๆตามมาได้ เช่น เบื่ออาหาร ซึม น้ำหนักลด และมีไข้ หากเป็นเรื้อรังจะพบเป็นสะเก็ดแห้งกรัง มีหนองหรือเลือดออกทั่วร่างกาย รวมทั้งอาจมีต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกายอีกด้วย

🔷ความรุนแรงของโรคไรขี้เรื้อนเปียกสามารถแบ่งเป็น 2 ระดับ ตามวิการของโรค ได้แก่
1) แบบเฉพาะที่ (Localized demodicosis) มักพบได้บ่อย ประมาณ 90% อาการของโรคไม่รุนแรง โดยจะพบรอยโรค 1-5 ตำแหน่ง บริเวณแก้ม เหนือคิ้ว ขาหน้า โดยสุนัขแสดงอาการขนร่วง ผิวหนังแดง คันและเกา มีแผลอักเสบเป็นตุ่มแดงๆ เล็กๆ ซึ่งอาจหายได้เองหากสุนัขแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันดีพอ หรืออาจลุกลามจนกลายเป็นแบบกระจายทั่วตัวได้
2) แบบกระจายกระจายทั่วตัว (Generalized demodicosis) มักเกิดขึ้นในสุนัขโตที่มีอายุมากกว่า 4 ปีขึ้นไป หรือในสุนัขที่มีภาวะของโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ฮอร์โมนที่ผิดปกติ หรือการรักษาที่มีการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน โดยจะพบรอยโรคมากกว่า 5 จุด สุนัขจะแสดงอาการของการอักเสบของผิวหนังรุนแรง ขนร่วง ตุ่มหนองแตกออก เป็นแผลคันเกา มีเลือดออก ผิวหนังมีลักษณะหนาตัวและมีสีคล้ำขึ้น พบได้ตั้งแต่ใบหน้า ลำตัว ขา และเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณอุ้งเท้าที่เกิดการบวม อักเสบ แดง มีตุ่มหนอง และทำให้สุนัขเจ็บปวดมากเวลาเดินหรือลงน้ำหนัก

🩺การวินิจฉัย🩺
สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน จะใช้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยใช้การดึงเส้นขนมาตรวจ หรือ ขูดเก็บตัวอย่างจากผิวหนัง ด้วยวิธี deep skin scraping คือการขูดแบบชั้นลึกถึงรูขุมขน ซึ่งอาจจะทำให้น้องมีเลือดออกจากบริเวณที่ขูดได้ โดยสัตวแพทย์จะเลือกวิธีวินิจฉัยตามความเหมาะสม

💊การรักษา💊
สัตวแพทย์ให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมกับผิวหนังเนื่องจากมีการติดเชื้อ ให้ยากลุ่มแก้คัน และให้ยารักษาโรคขี้เรื้อนเปียก เพื่อฆ่าตัวไรขี้เรื้อนที่ผิวหนังอย่างต่อเนื่อง
หลังจากรักษาทางยากินและยาใช้ภายนอก อาการคันจะลดลงใน 1-2 สัปดาห์ รอยแผลจะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์ โดยระยะการรักษาจนหายดีใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน
ภายหลังจากการหาย สัตวแพทย์จะทำการนัดเพื่อ ตรวจซ้ำเป็นประจำทุก ๆ เดือน หากขูดตรวจไม่พบตัวไรขี้เรื้อน แล้ว ให้ทำการรักษาต่อไปอีก 4 สัปดาห์ แล้วขูดตรวจซ้ำเป็นครั้งที่สอง หากไม่พบอีกจึงค่อยหยุดการรักษา
#โรงพยาบาลสัตว์สาคร

🐱แมวฉี่ไม่ออก อาการอันตรายควรรีบมาพบสัตวแพทย์🩺  อาการนี้มักพบได้บ่อยในแมวเพศผู้ มีอาการปวดเบ่ง เดินเข้าออกกระบะทรายบ่อย ...
07/11/2023

🐱แมวฉี่ไม่ออก อาการอันตรายควรรีบมาพบสัตวแพทย์🩺
อาการนี้มักพบได้บ่อยในแมวเพศผู้ มีอาการปวดเบ่ง เดินเข้าออกกระบะทรายบ่อย ปัสสาวะน้อยหรือปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะมีเลือดปน เลียอวัยวะเพศบ่อยครั้ง มีช่องท้องขยายใหญ่ ปวดเกร็งท้อง ร้องเจ็บเวลาปัสสาวะ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย ชัก เกร็งและมีโอกาสเสียชีวิตฉับพลันได้

สาเหตุการเกิดโรค ได้แก่

⚫️ มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
⚫️ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
⚫️ มีการอุดตันบริเวณปลายอวัยวะเพศ
⚫️ มีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ เช่น มีการตีบแคบของท่อปัสสาววะ หรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ
⚫️ ความผิดปกติที่ไม่ทราบสาเหตุ
พบได้ทั้งในแมวเพศผู้และเพศเมีย แต่พบในแมวเพศผู้มากกว่า เนื่องจากโครงสร้างของระบบทางเดินปัสสาวะที่ซับซ้อนและง่ายต่อการอุดตันมากกว่าเพศเมีย

💊การรักษา💊
1. การรักษาด้วยการสวนคาท่อปัสสาวะร่วมกับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาลดอักเสบ
สัตวแพทย์จะทำการสวนท่อปัสสาวะคาไว้เพื่อให้ปัสสาวะสามารถระบายออกได้ตามปกติ ระหว่างที่รอให้การอักเสบของทางเดินปัสสาวะลดลงและสามารถกลับมาปัสสาวะได้หลังจากถอดท่อ โดยระยะเวลาในการสวนท่อปัสสาวะนั้นทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 3-7 วันแล้วแต่ความรุนแรงโรคและอาการแทรกซ้อน อื่นๆ
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด ใช้ในกรณีที่แมวตัวผู้มีท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง จนไม่สามารถรักษาด้วยการสวนท่อหรือรักษาทางยาได้ ใช้การผ่าตัดย้ายตำแหน่งของท่อปัสสาวะ เพื่อตัดส่วนของท่อปัสสาวะที่มีปัญหาออกไปและสร้างทางเปิดของปัสสาวะขึ้นมาใหม่ โดยตำแหน่งในการผ่าตัดนั้นจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของท่อปัสสาวะที่มีปัญหา

วิธีการป้องกันปัญหาภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

🔹 ดูแลความสะอาดของกระบะทรายสม่ำเสมอ และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสม สงบและเป็นส่วนตัว ควรปรับลักษณะของกระบะทราย ไม่ให้มีขอบสูงเกินไป เพื่อให้แมวเดินเข้ากระบะทรายได้สะดวก
🔹 วางกระบะทรายให้มีจำนวนที่เพียงพอต่อประชากรแมวในบ้าน โดยจำนวนของกระบะทรายที่เหมาะสมคือ ”จำนวนแมวที่มี+1” เช่น กรณีมีแมว 2 ตัว กระบะทรายที่ควรมีขั้นต่ำคือ 3 อัน
ตั้งน้ำสะอาดในแมวกินตลอดเวลา และมีหลายที่ เพื่อแมวสามารถกินน้ำได้สะดวก
🔹 เลี่ยงปัจจัยที่เป็นสิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียด เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่เครียดได้ง่ายกว่าสุนัข การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เสียงที่ดังเกินไป การมีสุนัขอยู่ร่วมในบ้าน หรือมีแมวตัวผู้ที่ก้าวร้าวอยู่ร่วมด้วย อาจทำให้แมวเกิดความเครียดและมีผลทำให้การปัสสาวะผิดปกติไปได้
#โรงพยาบาลสัตว์สาคร

นิ่วในทางเดินปัสสาวะของสุนัข เกิดจากการสะสมของตะกอนแร่ธาตุ จนเกิดเป็นก้อนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เกิดได้จากหลายสาเหตุร่วมกั...
31/10/2023

นิ่วในทางเดินปัสสาวะของสุนัข เกิดจากการสะสมของตะกอนแร่ธาตุ จนเกิดเป็นก้อนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เกิดได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน ได้แก่ อายุ เพศ พันธุ์ ชนิดของอาหารและน้ำ ความเป็นกรด ด่างของปัสสาวะ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ สิ่งแวดล้อม หรือโรคอื่นๆ

🔴อาการที่พบ🔴
ซึม เบื่ออาหาร อาเจียน ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะลำบากหรือมีอาการเบ่ง ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะติดขัดหรือปัสสาวะออกมาเป็นหยด ๆ เป็นต้น

🔴การวินิจฉัย🔴
เน้นการใช้อัลตราซาวน์ร่วมกับเอกซเรย์ รวมทั้งสามารถคลำพบได้จากทางช่องท้อง ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่

🔴การรักษา🔴
สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ
1. การผ่าตัด เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพโดยการผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะและเอานิ่วที่อยู่ภายในออกโดยตรง มักใช้กับก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่โดยสัตวแพทย์จะพิจารณาจากความเสี่ยงของตัวสุนัขและความเร่งด่วนของอาการเป็นหลัก แต่ในรายที่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ ต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด
2. กรณีที่ไม่ผ่าตัด
การใช้ผลิตภัณฑ์อาหารจะใช้วิธีสำหรับนิ่วขนาดเล็ก ที่ใช้สำหรับป้องกันและสลายนิ่ว โดยการใช้อาหารสลายนิ่วจะทำได้แค่นิ่วแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต (MAP) ส่วนนิ่วชนิดอื่นๆจะใช้เพื่อการป้องกันการเกิดนิ่ว เท่านั้น
หลังจากการผ่าตัด ควรตรวจติดตามอาการอย่างต่อเนื่องและหลีกเลี่ยงหรือปรับอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำและจะต้องมีการตรวจปัสสาวะเป็นประจำและเพาะเชื้อจากปัสสาวะในรายที่เป็นนิ่วที่เกิดจากการติดเชื้อ
#โรงพยาบาลสัตว์สาคร

🩺อาการคันหูในน้องแมว🐱  😿แมวจะมีอาการคันหูอย่างรุนแรง สะบัดหัว เกาจนเป็นแผลที่แก้มหรือหลังหู ขี้หูมีสีดำ เป็นๆหายๆ สาเหตุ...
26/10/2023

🩺อาการคันหูในน้องแมว🐱
😿แมวจะมีอาการคันหูอย่างรุนแรง สะบัดหัว เกาจนเป็นแผลที่แก้มหรือหลังหู ขี้หูมีสีดำ เป็นๆหายๆ สาเหตุที่พบได้บ่อย คือ ไรในหู หรือ Otodectes cynotis เป็นปรสิตขนาดเล็กที่ทำให้หูแมวอักเสบ ติดต่อจากสิ่งแวดล้อม มักพบว่าติดจากแม่แมว หรือแมวตัวอื่นที่เลี้ยงรวมกันหลายๆตัว

วิธีการรักษา
🔹พบสัตวแพทย์เก็บตัวอย่างขี้หู เพื่อส่องตรวจขี้หูด้วยกล้องจุลทรรศน์
🔹ใช้ยาหยอดหูเพื่อกำจัดไร ทำควบคู่ไปกับการเช็ดและรักษาความสะอาดให้หูน้องแมว
🔹ทำความสะอาดบริเวณที่น้องแมวอยู่ให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เพื่อป้องกันไรหูกลับมาติดซ้ำอีก
#โรงพยาบาลสัตว์สาคร

น้องแมวพันธุ์ไทย มาเข้ารับการรักษา ด้วยอาการหอบ อ้าปากหายใจ หลังหายออกไปบ้าน 1-2 วัน หลังจากที่คุณหมอได้ทำการตรวจร่างกาย...
17/10/2023

น้องแมวพันธุ์ไทย มาเข้ารับการรักษา ด้วยอาการหอบ อ้าปากหายใจ หลังหายออกไปบ้าน 1-2 วัน หลังจากที่คุณหมอได้ทำการตรวจร่างกายและฟังเสียงปอด พบว่าเสียงปอดแบบ Dull sounds(เสียงทึบๆ ไม่ได้ยินเสียงของลมหายใจที่ผ่านในช่องปอด ซึงมักจะเกิดจากการมีของเหลวสะสมภายในช่องอก) จึงต้องทำการวินิจฉัยเพิ่มเดิมโดยการ X-rayและพบว่ามีของเหลวในช่องอก เนื่องจากภาพ X-rayไม่สามารถมองเห็นหัวใจของน้องแมวได้อย่างชัดเจน
เมื่อพบว่ามีน้ำในช่องอก คุณหมอได้ทำการเจาะเอาน้ำในช่องอกออกโดยการใช้ อัลตร้าซาวด์ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยและระบุจุดที่จะทำการเจาะน้ำอกกจากช่องอกได้ปลอดภัย แม่นยำที่สุด
หลังจากได้รับการเจาะน้ำในช่องอกออก น้องกลับมาหายใจได้ดีขึ้น หลังจากนั้น คุณหมอทำการ หาสาเหตุของการเกิดน้ำในช่องอก เพื่อประเมินแนวโน้มของโรคและแนวทางการรักษาต่อเนื่อง โดยทำการเพาะเชื้อจากน้ำในช่องอก ส่งน้ำในช่องอกไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งการทำ Rivalta Test (เพื่อใช้คัดกรองโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หรือ FIP ในแมว) หลังจากได้ข้อมูลจากตรวจและผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าน้องป่วยเป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว จึงต้องทำการรักษาด้วยการให้ยาต้านไวรัสและนัดตรวจอาการต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กลับมามีอาการซ้ำอีก #โรงพยาบาลสัตว์สาคร

16/10/2023

“การอัลตร้าซาวน์ในแม่แมว (Ultrasound)” มีประโยชน์อย่างไร
- เพื่อตรวจว่าแม่แมวผสมติดหรือไม่ โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุลูกแมวประมาณ 28 วันขึ้นไป
- ตรวจว่าลูกสัตว์ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ โดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจลูก
- สามารถประเมินวันคลอดได้อย่างแม่นยำ โดยวัดจากขนาดของหัวลูกแมวและผ่านการคำนวณวันคลอดจากเครื่องอัลตร้าซาวน์
- ในแม่แมวท้องแก้การอัลตร้าซาวน์เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจลูกแมว ช่วยให้สัตวแพทย์ทราบถึงกำหนดในการผ่าคลอดได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของลูกแมวที่ทำการผ่าคลอดได้ #โรงพยาบาลสัตว์สาคร

10/10/2023

“การอัลตร้าซาวน์ในแม่แมว (Ultrasound)” มีประโยชน์อย่างไร
- เพื่อตรวจว่าแม่แมวผสมติดหรือไม่ โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุลูกแมวประมาณ 28 วันขึ้นไป
- ตรวจว่าลูกสัตว์ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ โดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจลูก
- สามารถประเมินวันคลอดได้อย่างแม่นยำ โดยวัดจากขนาดของหัวลูกแมวและผ่านการคำนวณวันคลอดจากเครื่องอัลตร้าซาวน์
- ในแม่แมวท้องแก้การอัลตร้าซาวน์เพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจลูกแมว ช่วยให้สัตวแพทย์ทราบถึงกำหนดในการผ่าคลอดได้อย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของลูกแมวที่ทำการผ่าคลอดได้

ที่อยู่

920/243-244 ถ. เอกชัย
Samut Sakhon
74000

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 21:00
อังคาร 09:00 - 21:00
พุธ 09:00 - 21:00
พฤหัสบดี 09:00 - 21:00
ศุกร์ 09:00 - 21:00
เสาร์ 09:00 - 21:00
อาทิตย์ 09:00 - 21:00

เบอร์โทรศัพท์

+6634422388

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ โรงพยาบาลสัตว์สาครผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

จุดเริ่มต้นโรงพยาบาลสัตว์สาคร

เริ่มจากคลีนิกเล็กๆในซอยบ้านเช่า ที่ก่อตั้ง ปี พ.ศ. 2517 โดยเริ่มก่อตั้งกิจการ

โดย นาย สมบูรณ์ จันทร์ศศิธร ( หมออ่าง ) เพื่อทำการรักษาสัตว์เลี้ยงของเจ้าของในละแวกมหาชัย ต่อมากิจการเจริญเติบโต ทำให้มีสัตว์เลี้ยงมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ร่วมกับความไม่สะดวกของสถานที่เนื่องจากไม่มีที่จอดรถ จึงต้องทำการขยายกิจการขึ้นเป็น โรงพยาบาลสัตว์สาครและย้ายที่ทำการมาตั้งที่ ริมถนนเอกชัย ในปี พ.ศ.2556 เพื่อขยายการบริการและเพิ่มคุณภาพในทุกการรักษาให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ ให้มีการบริการด้วยความรักและความตั้งใจ สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อตอบสนองทุกการรักษาอย่างเร่งด่วนและครอบคลุมความต้องการของลูกค้าในทุกด้าน