10/07/2025
ปัญหาหูหาย … ปัญหานี้แก้ได้ค่ะ ตามไปอ่านบทความของหมอฟ่างกันนะคะ 🥰
แต่ถ้าแมวเรียกแล้วเหมือนไม่มีหู…
กระดิกรับรู้แต่ไม่หัน…
อันนี้เรียกว่าอาการแมวเมินค่ะ
ปัญหานี้แก้ได้ แต่ไม่ได้แก้ที่แมวค่ะ แก้ที่นุดทาสเลยค่ะ
การทำใจยอมรับและไม่คาดหวัง …. จะทำให้เราไม่ผิดหวัง
วันไหนเรียกแล้วน้องหัน …ถือว่าเป็นกำไรชีวิตค่ะ 😂😂😂
______________________________
สามารถปรึกษาพูดคุยกับหมอฟ่าง คุณหมอด้านพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงประจำ Pet Empire ได้นะคะ
⏰ เวลาทำการ 10:00-21:00 น.
📞• Tel: 063-123-9144
📱 • Line :
หรือกด http://nav.cx/e83p3kz
• พิกัดใกล้เคียงโรงพยาบาลสัตว์เพ็ทเอ็มไพร์ :
แจ้งวัฒนะ เมืองทองธานี ปากเกร็ด สามัคคี ติวานนท์ ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
การเดินทาง 🏃🏼🏃🏼🏃🏼
• Google map : Pet Empire Pet Hospital
https://goo.gl/maps/NLNWXXGLsXM61d2XA
🐾 ปัญหาหูหาย 🐾
หูหาย👂🏻...หูอะไรหาย หูแมวที่เรียกแล้วไม่เคยมาหรือเปล่า เรามาติดตามกันค่ะ!
ปัญหานี้ยกตัวอย่างมาจากเด็กๆ ที่ Katzen Planet เองเลย
ไม่แน่ใจว่าพ่อๆ แม่ๆ บ้านอื่นๆ เคยเจอปัญหานี้กันไหม?
เด็ก ๆ ที่บ้านนี้ “ชอบกัดหูถุงพลาสติก” เผลอไม่ได้เลยจริงๆ ค่ะ
เผลอแป๊บเดียว หูหาย! ใครมาเที่ยวบ้านจะรู้เลยว่า "หมอมีกฎ"
ห้ามวางถุงพลาสติกในที่ที่แมวสามารถเข้าถึงได้ 😅
ปัญหานี้เกิดจากอะไร อันตรายหรือไหม และจะต้องแก้ไขอย่างไร Katzen Planet จะมาเล่าให้ฟัง
ปัญหานี้เป็นหนึ่งในปัญหาพฤติกรรมที่เรียกว่า "Pica"
เป็นภาวะที่สัตว์กินหรือเคี้ยวสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เช่น พลาสติก เชือก ผ้า ฯลฯ
ซึ่งพบได้ในแมว และถ้าไม่ระวัง อาจเป็นอันตรายได้มากกว่าที่คิดค่ะ
สาเหตุที่น้องแมวชอบกัด กินถุงเกิดจากอะไร ❓
- กลิ่นอาหารตกค้าง: พลาสติกบางชิ้น เช่น ถุงขนม ถุงอาหารแมว หรือ ถุงshopping อาจมีกลิ่นอาหารติดอยู่ ซึ่งกระตุ้นให้แมวเข้าไปเลียหรือกัด 🍣
- ลักษณะพื้นผิวและเสียง: เสียงกรอบแกรบของพลาสติก หรือสัมผัสที่ยืดหยุ่นเวลางับ อาจทำให้แมวเพลินในการสำรวจ เคี้ยว และกลืนแบบลืมตัว 🛍️
- คลายเครียดให้ตัวเอง (self-soothing): แมวบางตัวใช้การเคี้ยวถุงเป็นการระบายความเบื่อ ความเครียด หรือเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย โดยเฉพาะแมวที่ขาดการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม 🧶
- นิสัยเฉพาะตัว หรือพันธุกรรม: แมวบางสายพันธุ์ (เช่น แมว Siamese หรือ Burmese ) มีแนวโน้มแสดงพฤติกรรม Pica สูงกว่า และบางตัวก็มีความชอบกัดพลาสติกอย่างจริงจัง แม้ไม่มีความเครียดใดๆ 🐈
- ปัญหาทางการสุขภาพ: พบน้อยแต่ไม่ควรมองข้าม เช่น ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ช่องปาก หรือพฤติกรรมบกพร่องจากภาวะทางสมอง เป็นต้น 🦷
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กๆที่กินถุงพลาสติก หรือ สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ‼️
- ติดคอ หรือ สำลัก 🤢
- ระคายเคืองหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร อาจอาเจียนเป็นเลือด 🩸
- รุนแรงสุด คือ กระเพราอาหารอุดตัน ลำไส้อุดตัน หรือ ลำไส้กลืนกัน อาจทำให้เด็กๆ ต้องผ่าตัด หรือ ส่องกล้อง 🩻
วิธีการแก้ไขปัญหา 🔧
- หากแก้ที่แมวไม่ได้ ให้แก้ที่เรา...เบาที่สุด‼️ โดยเก็บถุงพลาสติกไว้ในที่ปิดมิดชิด หรือ เก็บให้พ้นสายตาแมว (ที่ Katzen Planet ใช้วิธีนี้ค่ะ แมวกัดถุงไม่โดนดุ แต่คนลืมเก็บถุง โดนหมอดุแน่นอน! 😅)
- เสริมของเล่นที่ปลอดภัยให้แมวได้กัดเคี้ยว เช่น ตุ๊กตาผ้าสอดใส่กัญชาแมว ของเล่นที่เป็นยางที่สามารถแทะได้ขนาดพอเหมาะ ไม่เล็กจนแมวสามารถกลืนลงไปทั้งชิ้นได้
- เพิ่มกิจกรรมที่แมวได้ใช้พลังงานและสมอง เช่น puzzle toy หรือ food toy ที่เราได้แนะนำไปในโพสต์ที่แล้ว
- หากพฤติกรรมรุนแรง กลืนพลาสติก หรือทำบ่อยจนควบคุมไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์นะคะ
สุดท้ายหาก ลูกๆ ใครมีปัญหาพฤติกรรมอะไรแปลกๆ หรือน่าสงสัย
มาแชร์กันใต้โพสต์นี้ได้นะคะ แล้ว Katzen Planet จะหาคำตอบมาให้ค่ะ 🐱🚀✨
#รู้จักแมวให้มากกว่าที่ตาเห็น
🖋️ แหล่งอ้างอิง:
- Moore, A. (2007). The Cat Behavior Answer Book: Practical insights & proven solutions for your feline questions. Storey Publishing.
- Horwitz, D., & Mills, D. (Eds.). (2009). BSAVA manual of canine and feline behavioural medicine (2nd ed.). BSAVA.
- Daily Paws Editors. (2021, November 2). Why Do Cats Eat Plastic?. Daily Paws. https://www.dailypaws.com/cats-kittens/behavior/common-cat-behaviors/why-do-cats-eat-plastic