08/09/2024
‼️อย่านิ่งนอนใจว่าโรคลัมปีสกินสงบแล้ว ไม่รุนแรงแล้ว‼️
✅วัคซีนยังจำเป็นต้องทำต่อเนื่องนะครับ
📉เมื่อไรที่ภูมิคุ้มกันในฝูงต่ำลง หรือถึงขั้นไม่มีเลย
ความรุนแรงมันจะเพิ่มขึ้น📈
💉วัคซีนฉีดแค่ปีละ 1 ครั้ง ทำให้เป็นประจำ
💸ค่าวัคซีนมันน้อยมากๆครับเมื่อเทียบกับค่าสูญเสียวัว และค่ารักษา
🛡️ การป้องกันคือการรักษาที่ดีที่สุด
—————————————————
ขอขอบคุณข้อความสรุปจากโพสต์อาจารย์สมศักดิ์ เพ็ชรศิริ ครับ
ผลงานวิจัยโรคลัมปี สกิน (ที่มา อ้วน ชัย)
สัปดาห์นี้ทีมงานเรามีโอกาสไปบรรยายให้กับสหกรณ์โคนม 2 แห่ง เกี่ยวกับผลงานวิจัยของโรคลัมปี สกินที่เราทำในพื้นที่ตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อปี 2564 เลยอยากให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องระดับภูมิคุ้มกันในลูกวัว (ในเปเปอร์ที่ตีพิมพ์นี้หน่อยครับ) ซึ่งเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ทำทั้งหมดครับ
จากผลการวิจัยในเรื่องนี้มีข้อแนะนำคือ
1. การทำวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ในลูกโคนม แนะนำขยับมาที่อายุ 2 เดือน เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า จำนวนลูกโคที่มีระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันโรคได้ลดลงต่ำกว่า 50% เมื่อลูกวัวอายุได้ 2 เดือน
2. ยังจำเป็นต้องทำวัคซีนในแม่โคอยู่ แม้ช่วงหลัง ๆ การระบาดส่วนใหญ่จะพบในลูกโค เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า เมื่อแม่โคมีภูมิคุ้มกันต่อโรคลัมปี สกิน ในระดับต่ำมาก หรือไม่มีเลย ส่งผลให้ลูกที่คลอดออกมา มีระดับภูมิคุ้มกันโรคต่ำไปด้วยหรือไม่มีเลย ลูกโคที่มีภูมิคุ้มกันโรคในระดับต่ำนี้ จะคงอยู่ในลูกโคได้ไม่นาน จึงเป็นสาเหตุให้พบการระบาดในลูกโคดังกล่าว หรือลูกโคป่วยที่อายุน้อยกว่า 2 เดือน หรือบางตัวอายุอาทิตย์กว่า ๆ ก็พบการป่วยแล้ว ดังนั้น ในแม่โคจึงยังคงต้องทำวัคซีนต่อไป เพื่อให้ลูกโคได้รับภูมิคุ้มกันโรคจากนมน้ำเหลืองในระดับที่เพียงพอต่อการป้องกันโรค และคงอยู่นานจนกว่าจะได้รับวัคซีนเข็มแรก ที่อายุ 2 เดือน
3. สืบเนื่องจากข้อ 2 หากเว้นช่วงการทำวัคซีนในแม่โคนานหลายปี อาจทำให้แม่โคไม่มีภูมิคุ้มกันโรคและเกิดการระบาดในแม่โคในอนาคตได้ (ซึ่งแหล่งแพร่เชื้อโรคอาจเป็นลูกโคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคและแสดงอาการทีปวยนั่นเอง)
ป.ล. ยังมีอีกหลายเรื่อง เดี๋ยวจะทยอยเล่าให้ฟังกันนะฮะ
หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Persistence of passive immunity in calves receiving colostrum from cows vaccinated with a live attenuated lumpy skin disease vaccine and the performance of serological tests ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Frontiers in Veterinary Science (Published : 21 May 2024) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI tier 1 (Journal Impact factor 3.2), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fvets.2024.1303424/full
งานวิจัยเรื่อง Persistence of passive immunity in calves receiving colostrum from cows vaccinated with a live attenuated lumpy skin disease vaccine and the performance of serological tests มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคงอยู่ของระดับภูมิคุ้มกันจากแม่โคต่อโรคลัมปี สกินในลูกโคนมที่เกิดจากแม่โคที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคขณะตั้งท้อง
#ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์_VETCMU